วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เชลโล (Cello)


เชลโล เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส เชลโลเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับไวโอลิน มีโน้ตเพลงที่เขียนไว้สำหรับเชลโลโดยเฉพาะอยู่หลายบทเพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ถึงอย่างไรก็ตามยังมีการเล่นเชลโลกับดนตรีประเภทแจ๊ส บลูส์ ป๊อป ร็อก ฯลฯ

ประวัติ (History)

Cello คือชื่อย่อของ Violoncello ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีความโค้งมนเช่นเดียวกับไวโอลินและวิโอล่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เชลโลมีพัฒนาการของรูปทรงที่หลากหลายกว่าจะเป็นดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน และต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่ยอมรับในฐานะเครื่องดนตรีสำหรับการแสดงเดี่ยว

หลายคนเชื่อว่า เชลโล มีที่มาจากคำว่า Viol ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เชลโลเริ่มปรากฏขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคบารอค จากเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน ในขณะที่เครื่องดนตรีต่างๆ ที่มีรูปทรงคล้ายไวโอลินในสมัยนั้นมีแพร่หลายอยู่แล้ว เช่น ซอ Viol และ Rebec แต่ไวโอลินเป็นตระกูลเครื่องสายที่แยกออกมาจากเครื่องดนตรีเหล่านั้น

ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาเชลโลมีการเปลี่ยนแปลงขนาดมาโดยตลอด แต่องค์ประกอบโดยทั่วไปแล้วแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย Antonio Stradivari เป็นช่างทำไวโอลินคนแรกที่กำหนดขนาดมาตรฐานของเชลโลสมัยใหม่ขึ้น เชลโลในยุคก่อนๆ นั้นมีขนาดความยาวประมาณ 80 ซม. ซึ่งไม่สะดวกต่อการเล่นเท่าใดนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1707 เขาใด้ปรับขนาดเชลโลให้สั้นลงเหลือเพียง 75 ซม. ซึ่งทำให้เล่นได้สะดวกขึ้น

โครงสร้างเชลโล


ทรัมเป็ต (Trumpet)



ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง(แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์

ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน(mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต จนถึงวงออเคสตราขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่

ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน

ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิค

ในประเทศไทยมีผู้เล่นทรัมเป็ตที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อ.วานิช โปตะวนิช, อ.เลิศเกียรติ จงจิรจิตร เป็นต้น

โอโบ (Oboe)


โอโบ ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงโอเปร่าฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy”
ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบ คือ เครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีใน วงออร์เคสตร้า

รายชื่อเครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind)

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้

  1. ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ (Recorder)
  2. ฟลุ๊ต (Flute) และ ฟลุ๊ต-ปิดโคโล (Flute-Picolo)
  3. คลาริเนท (Clarinet)
  4. แชกโซโฟน (Saxophone)
  5. บาสซูน (bassoon)
  6. โอโบ (Oboe)

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องทองเหลือง(Brass Instrument)

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้

  1. ทรัมเป็ท (Trumpet)
  2. คอนเน็ท (Cornet)
  3. เฟรนช์ ฮอร์น (French Horn)
  4. ทรอมโบน (Trombone)
  5. แซ็กฮอร์น (Saxhorn)
  6. ซูซาโฟน (Sousaphone)
  7. ทูบา (Tuba)
  8. ยูโฟเนียม (Euphonium)

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องสาย (String Instrument)

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้

  1. ไวโอลิน (Violin), วิโอลา (Viola), เชลโล (Cello), ดับเบิลเบส (Doubble bass)
  2. แบนโจ (Banjo)
  3. กีตาร์ (Guitar)
  4. แมนโดลิน (Mandolin)
  5. ฮาฟ (Harp)
  6. ลูฟ (Lute)

เครื่อดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instrument)

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้

  1. กลอง (Drum), ทิมพานี(Timpani)
  2. ฉาบ (Cymbol), ฆ้อง (Gong)
  3. เบลลีลา (Bellela), ไซโลโฟน (Xylophone)
  4. มาราคัส แทมโปลิน

เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว (Keyboard Instrument)

ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้

  1. ออแกน (Organ)
  2. เมโลเดี้ยน (Melodian)
  3. เปียโน (Piano)
  4. แอคคอเดียน (Accordion)
  5. ฮาปซิคอร์ด
  6. อิเล็คโทน (Electone)

ฟลุต (Flute)


ฟลุต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลม ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจาดการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลุต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลุตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน

ประวัติ (History)

ฟลุท เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีแรก ๆ ของโลก ฟลุทที่เป่าตามแนวนอนพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อ 900 ปีก่อน คศ. ฟลุทได้ไปถึงยุโรปเมื่อราวปี ค.ศ. 1100 ฟลุทในช่วงปี ค.ศ. 1700 นั้นผลิตจากไม้และมีคีย์ 1-4 คีย์ ในศตวรรษที่ 19 จำนวนคีย์ได้เพิ่มเป็น 8 คีย์

ในปี ค.ศ. 1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Theobald Boehm ได้คิดค้นระบบการวางนิ้วของฟลุทใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลุทสามารถเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นและเสียงเจิดจ้าขึ้น ระบบเดียวกันนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ โอโบ คลาริเน็ต และแซกโซโฟนด้วย

ประเภทของฟลุต

ฟลุตมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา, โดยพื้นฐานแล้วฟลุตก็คือ ท่อปลายเปิดที่ถูกเป่าให้มีเสียง (เหมือนการเป่าขวด) เมื่อมีความต้องการการเครื่องดนตรีที่มีความสามารถมากขึ้น ได้ทำให้เกิดการพัฒนาจนเกิด ฟลุตตะวันตก ซึ่งมีกลุ่มของแป้นกดที่มีความซับซ้อน

ฟลุตถูกแบ่งเป็นหลายประเภท โดยส่วนใหญ่ผู้เล่นจะเป่าไปที่ขอบของฟลุตเพื่อให้เกิดเสียง อย่างไรก็ตาม ฟลุตบางประเภทอย่างเช่น ขลุ่ย, นกหวีด จะมีท่อนำลมไปยังขอบ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเล่น แต่จะทำให้ไม่สามารถควบคุมลักษณะของเสียงได้เช่นเดียวกับการผิว โดยปรกติแล้ว ขลุ่ยจะไม่ถูกเรียกว่าฟลุต ถึงแม้ว่ากายภาพ วิธีการ และเสียง จะคล้ายกับฟลุตก็ตาม

การแบ่งประเภทอีกแบบหนึ่งก็การแบ่งระหว่าง การเป่าด้านข้าง (Transverse) และการเป่าจากส่วนบน

กลุ่มหลัก ๆ ของฟลุตประกอบไปด้วย ปิคโคโล คอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุต เบสฟลุต คอนทราเบสฟลุต ซึ่งแต่ละชนิดจะมีช่วงของเสียงแตกต่างกัน ปิคโคโลจะมีเสียงสูงกว่าฟลุต ไป 1 คู่แปด แต่การเขียวโน้ตจะเขียนเช่นเดียวกับคอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุตจะให้เสียง G (ซอล) ซึ่งต่ำกว่า C (โด) กลาง เสียงสูงที่สุดที่อัลโตฟลุตจะเล่นได้คือ G (ซอลสูง) อยู่บนเสี้นที่ 4 เหนือบรรทัด 5 เส้น เบสฟลุตจะให้เสียงต่ำกว่าคอนเสิร์ทฟลุตอยู่ 1 คู่แปด เป็นฟลุตที่ไม่ค่อยถูกนำมาเล่น มีทั้ง ฟลุตเสียงสูง ที่ให้เสียง G (ซอล) ที่ให้เสียงสูงกว่า อัลโตฟลุตอยู่ 1 คู่แปด, โซปราโนฟลุต, เทเนอร์ฟลุต ฯลฯ โดยฟลุตที่มีขนาดแตกต่างจาก ฟลุต และ ปิคโคโล บางครั้งจะถูกเรียกว่า ฮาร์โมนีฟลุต

วัสดุที่ใช้ทำฟลุต

  • นิเกิล ใช้ทำฟลุตระดับนักเรียน หรือสำหรับผู้หัดเล่น ฟลุตทำจากวัสดุประเภทนี้จะมีราคาถูก มีการตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนต่ำ ให้เสียงที่ทึบ
  • นิเกิล-ซิลเวอร์ เกิดจากการนำทองแดงผสมนิเกิล และโลหะอื่นๆอีกเล็กน้อยตามที่ผู้ผลิตต้องการ โลหะชนิดนี้ไม่มีเงินผสมอยู่ แต่มีสีเหมือนเงิน จึงเรียกว่านิเกิล-ซิลเวอร์ และมักถูกเคลือบด้วยเงินอีกชั้น ฟลุตชนิดนี้ให้เสียงที่สว่าง การตอบสนองดี ราคาสูงกว่าแบบนิเกิล
  • เงิน (Silver, Stiring Silver) ให้การตอบสนองและการโปรเจกต์เสียงที่ดีกว่านิเกิ้ลซิลเวอร์ ราคาแพงกว่าแบบนิเกิล-ซิลเวอร์มาก
  • ไม้
  • แก้ว
  • ทอง

ส่วนประกอบฟลุต (Concert Flute)

  • Headjoint หรือที่เรียกว่าปากเป่า เป็นตัวกำเนิดเสียง ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
  • Reflector อยู่ด้านในสุดของรูเป็นตัวสร้างเสียง 
  • Lip Plate เป็นส่วนวางปาก ซึ่งบน Lip Plate จะมีปากเป่า (Embouchure) เป็นส่วนให้ผู้เล่นผิวลมเข้าไป
  • Crown เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของฟลุต สามารถหมุนออกเพื่อปรับ Refector ได้
  • Body เป็นส่วนควบคุมเสียง โดยมีส่วนคีย์และกลไกในการเล่น อาจจะมีกลไกเพิ่มเติมเช่น
  • E Mechanism
  • Foot คือส่วนหางมี 2 ประเภทคือ C Foot และ B Foot โดยฟลุตที่เป็น C Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือ Middle C และฟลุตที่เป็น B Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือเสียง B (ต่ำกว่า Middle C 1 เสียง) ฟลุตที่เป็น B Foot จะราคาแพงกว่า ยาวกว่า และหนักกว่า C Foot

แขนงของฟลุต



คำศัพท์ดนตรีที่ควรรู้

ศัพท์ดนตรีที่น่ารู้

Accent เน้น

Piano เบา

Pianissimo เบามาก

Pianississimo เบามากและอ่อนโยน

Forte ดัง

Fortissimo ดังมาก

Fortississimo ดังเท่าที่จะทำได้

Forzando เล่นด้วยความแรงแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง

Sforzando แรงแบบกระแทกแล้วค่อยๆ ผ่อนเบาลง โดยความตั้งใจที่จะแสดงถึงความเชี่ยวชาญในการแสดงดนตรีชิ้นนั้น

Mezzo piano ค่อนข้างจะเบา

Mezzo forte ดังพอสมควร

Rallentando, Ritenuto ค่อย ๆ ผ่อนจังหวะให้ช้าลง

Introduction บทนำของเพลง

Pause เรียกว่า “ศูนย์” หมายถึงจังหวะเสียงยามตามความพอใจ

Coda ลงจบของบทเพลง

Fine จบบทเพลง

Cantata บทดนตรีที่มีการร้องเดี่ยวและหมู่

A tempo กลับไปใช้จังหวะเดิม

Cadenza บทบรรเลงเดี่ยวที่ผู้ประพันธ์เขียนขึ้น

Concerto บทประพันธ์ดนตรีที่แสดงความสามารถของผู้เล่นเครื่องดนตรีเดี่ยวและวงออร์เคสต้า ซึ่งมีลักษณะของการเล่นรับสลับกันบางครั้งก็เป็นการแสดงเดี่ยวเครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน 2 คัน

Mass ดนตรีที่จัดไว้สำหรับพิธีทางศาสนาโรมันคาทอลิก

Opus ผลงานลำดับที่ เป็นคำมาจากภาษาละตินแปลว่า “ผลงาน” Opus ตามด้วยหมายเลขซึ่งแสดงลำดับผลงานของคีตกวีที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่น Beethoven: in A flat major opus 1 หรือ op. 1 หมายถึงผลงานชิ้นที่ 1 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ และถ้ามีชิ้นย่อยลงไปอีกก็ใช้ no. หรือ number เช่น opus.40, no. 2 เป็นต้น

Crescendo การเพิ่มจากเสียงเบาไปหาดัง

Diminuendo ทำเสียงลดลงทีละน้อย

Symphony บทประพันธ์ดนตรีลักษณะเดียวกับ sonata ที่ประกอบด้วย 4 ท่อน หรือมากกว่านั้นแต่ใช้วงออร์เคสต้าบรรเลงเต็มวง

Solo เดี่ยว เช่น violin solo หมายถึงการเดี่ยวไวโอลิน

Sonata บทประพันธ์ดนตรีที่ประกอบด้วยหลายท่อนหรือกระบวนที่แตกต่างกัน ซึ่งทั่วไปประกอบด้วย 4 ท่อน ท่อนที่ 1. An allegro มีชีวิตชีวา ท่อนที่ 2. A slow movement เป็นท่อนที่ช้า ท่อนที่ 3. A scherzo มีความรื่นเริงสบาย ๆ ท่อนที่ 4. An allegro มีชีวิตชีวา

ต่อไปนี้เป็นศัพท์ดนตรีบอกความช้าเร็วของจังหวะ ซึ่งมักจะปรากฎทั่วไปในแผ่นเสียง คำบรรยายเพลงทุกชนิด และต้นฉบับ มีประโยชน์สำหรับบอกแนวทางคร่าว ๆ ให้ทราบถึงบรรยากาศของเพลง

จังหวะทั่ว ๆ ไป แบ่งออกเป็น 3 พวก # ช้า - ปานกลาง - เร็ว

จำพวกช้าแบ่งออกเป็น

Lento ช้ามากที่สุดในจำพวกช้าด้วยกัน

Largo ช้ามากที่สุดเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่า Lento

Larghetto ช้ารองลงมาจาก Largo

Adagio ช้ามาก

Andante ช้าพอประมาณ

Andantino ช้าพอประมาณ แต่เร็วกว่า Andante หรือเร็วที่สุดในจำพวกช้าทั้งหมดนี้

จำพวกปานกลางมีอย่างเดียวคือ

Moderato ปานกลางธรรมดา

จำพวกเร็วแบ่งออกเป็น

Allegretto เร็วพอสมควร

Allegro เร็ว

Vivace เร็วอย่างร่าเริง (เล่นแบบกระตุกๆ)

Presto เร็วมาก

Prestissimo เร็วจี๋

ศัพท์ต่อไปนี้แสดงถึงความรู้สึกของจังหวะทำนอง

Grave อย่างโศกเศร้า

Maestoso อย่างสง่าผ่าเผย องอาจ

Tempo giusto ธรรมดา - ปานกลาง

Agitato อย่างร้อนรนตื่นเต้น

Mosso อย่างว่องไว

Con moto อย่างกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวา

วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)


วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra) ในปัจจุบันซึ่งวิวัฒนาการมาจากศตวรรษที่ 18 มีลักษณะโครงสร้างทั่ว ๆไปดังแผนภาพดังนี้

1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี

2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ 1 จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)

3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin

4. เชลโล่ - Cello

5. วิโอล่า - Viola

6. ดับเบิลเบส - Double bass

7. อิงลิช ฮอร์น - English horn

8. โอโบ - Oboe

9. ฟลูต - Flute

10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet

11. คลาริเนต - Clarinet

12. บาสซูน - Bassoon

13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon

14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn

15. แซกโซโฟน - Saxophone

17. ทูบา - Tuba

18. ทรอมโบน - Trombone

19. ทรัมเปต - Trumpet

20. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp

21. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี - Percussion)

22. ฉาบ - Cymbal

23. เบส ดรัม - Bass Drum

24. ไทรแองเกิ้ล - Triangle

25. กลอง - side หรือ Snare Drum

26. Tubular Bells - ระฆังราว

27.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า
Chamber music คือดนตรีสำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี โดยนักดนตรีแต่ละคนจะมีแนวบรรเลงของตนเองต่างจากคนอื่น ๆ ไม่เหมือนกับวงดนตรีสำหรับวงดนตรีออร์เคสตร้า ที่มักจะมีนักดนตรีหลายคนต่อแนวบรรเลงหนึ่งแนว ดนตรีแชมเบอร์มิวสิคนี้ เรียกตามจำนวนคนที่เล่นดังนี้

DUET: สำหรับผู้เล่น 2 คน
TRIO: สำหรับผู้เล่น 3 คน
QUARTET: สำหรับผู้เล่น 4 คน
QUINTET: สำหรับผู้เล่น 5 คน
SEXTET: สำหรับผู้เล่น 6 คน
SEPTET: สำหรับผู้เล่น 7 คน
OCTET: สำหรับผู้เล่น 8 คน
NONET: สำหรับผู้เล่น 9 คน
String Quartet

เป็นคีตลักษณ์แบบ Chamber music ที่สำคัญ ประกอบด้วยผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คน สำหรับ String trio นั้นจะประกอบด้วยเครื่องสายล้วน ๆ 3 เครื่อง และหากตัดเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งออกไปแล้วเพิ่มเปียโนเข้าไป 1 หลังจะเรียกว่า Piano trio หรือหากเพิ่มฮอร์นเข้าไปแทน เรียกว่า Horn trio เป็นต้น

(บทความจากหนังสือดนตรีคลาสสิก)

กลองชุด

  กลองชุด 


กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยกลองหลายใบ และฉาบ โดยใช้ผู้เล่นคนเดียว ถือไม้ตีกลองและฉาบทั้งสองมือ และใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง เพื่อตีกลองใหญ่ และ Cymbals กลองชุดเป็นที่นิยมใช้กับงานดนตรีเกือบทุกประเภท


ส่วนประกอบ

           เครื่องดนตรีในกลองชุด ประกอบด้วย

  • กลองเล็ก หรือ สะแนร์ดรัม (Snare drum) ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะ และสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่าง สามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้ และตีกลองเล็กด้วยไม้ นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี
  • กลองทอม (Tom-tom drum) หรือ เทเนอร์ดรัม (Tenor drum) มีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัม เป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์ โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลอง ใช้ไม้ชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด
  • กลองใหญ่ หรือ กลองเบส (Bass drum) เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้าน เสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ต ตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้ม ชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้าง ใช้เพื่อทำเสียงรัว
  • กลองทิมปานี (หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะ ซื่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบน เป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอน เมี่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยใม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล (ที่เหยียบ) ก็ไดั ไม้ที่ใช้ตีมีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว
  • ฉาบ หรือ เชมเบล (Cymbal) มีอยู่2ชนิดคือฉาบที่ใช้กับกลองชุดและฉาบที่ใช้เดิน



แซกโซโฟน (Saxophone)

แซกโซโฟน (อังกฤษ: saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet)[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว

ประวัติ (History)


อดอล์ฟ แซกซ์ (Adolphe Sax) มีชื่อจริงว่า Antoine-Joseph Sax แต่คนทั่วไปเรียกเขาว่า Adolphe Sax เป็นชาวเบลเยียมเกิดที่เมืองดินานท์ (Dinant) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 บิดาชื่อ ชาร์ล โจเซฟ แซกซ์ (Charles Foseph Sax) เป็นนักดนตรีเป่าฟลุตและคลาริเนต นอกจากนี้แล้วบิดาของเขายังมีโรงงานประดิษฐ์เครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองอยู่ที่เมืองดินานท์อีกด้วย ประมาณปี ค.ศ. 1815 บิดาเขาได้ย้ายโรงงานไปอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ อดอล์ฟ แซกซ์ ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดวิชาต่างๆ จากบิดา ในขณะเดียวกัน อดอล์ฟ แซกซ์ ยังได้ศึกษาดนตรีที่สถาบันดนตรีแห่งกรุงบรัสเซลส์ โดยเรียนเป่าฟรุตและคลาริเนต

ในปี ค.ศ. 1830 อดอล์ฟ แซกซ์ ได้ประดิษฐ์ประดิษฐ์เครื่องดนตรีของเขาเป็นครั้งแรก โดยมีฟลุตและคลาริเนตซึ่งทำด้วยงาช้าง แสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ ในปี ค.ศ. 1838 เขาได้ลิขสิทธิ์ในการประดิษฐ์เบสคลาริเนต ระหว่างปี ค.ศ. 1840-1841 เขาได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและนำออกแสดงในงานนิทรรศการเครื่องดนตรีที่กรุงบรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1841 แต่ขณะกรรมการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่เขาโดยอ้างว่าอายุน้อย ในที่สุดเขาได้ย้ายไปตั้งร้านประดิษฐ์และซ้อมเครื่องดนตรีที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1842 ร้านของเขาได้รับความนิยมมากที่สุดในยุโรป โดยเฉพาะเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลืองในสมัยนั้น

เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 ที่กรุงปารีสเมื่ออายุ 60 ปี

ในระยะต้นของต้นคริสต์ศตรรษที่ 20 บริษัทเฮนรี่ เซลเมอร์แห่งปารีสได้ซื้อร้านของอดอล์ฟ แซกซ์ ต่อของเขามาดำเนินการแทน และได้ผลิตแซกโซโฟนยี่ห้อ เวลเมอร์ ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920


ชนิดของแซกโซโฟน


ตระกูลแซกโซโฟนเป็นตระกูลใหญ่เช่นเดียวกับคลาริเนท แซกโซโฟนมีขนาดต่าง ๆ ถึง 7 ขนาดด้วยกัน แต่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ชนิดด้วยกัน หลากหลายชนิดของแซกโซโฟน ได้กล่าวเกี่ยวกับชนิดของแซกโซโฟนไว้ว่าแซกโซโฟนในปัจจุบันประกอบด้วยแซกโซโฟนโซปราโน, แซกโซโฟนอัลโต้, แซกโซโฟนเทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟนในบรรดา 4 ชนิดที่กล่าวมานี้ แซกโซโฟนโซปราโนเป็นแซกโซโฟนที่มีเสียงความถี่เสียงสูงที่สุด ตามด้วยแซกโซโฟนโต้ แซกโซโฟนเทเนอร์และสุดท้ายที่ต่ำคือบาริโทนแซกโซโฟน

  1. โซปราโนแซกโซโฟน (Soprano Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาและมีความถี่สูงที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงสามารถถือไว้ในมือได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายสะพายแซกโซโฟนก็ดี อย่างไรก็ตามแซกโซโฟนโซปราโนไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการหัดเล่นแซกโซโฟน เนื่องจากมีความยากในการเป่ามากกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และเทเนอร์ ในปัจจุบันแซกโซโฟนโซปราโนจะมีรูปทรงให้เลือก 2 แบบ คือแบบตรง และแบบโค้งก็จะมีลักษณะเหมือกับแซกโซโฟนอัลโต้แต่มีขนาดเล็กกว่า
  2. อัลโต้แซกโซโฟน (Alto Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น เนื่องจากเป็นแซกโซโฟนที่เป่าง่ายกว่าโซปราแซกโซโฟนและมีน้ำหนักเบากว่าแซกโซโฟนเทเนอร์แซกโซโฟนอัลโต้สามารถเป่าได้ในดนตรีหลาย ๆ สไตล์ไม่ว่าจะเป็นสไตล์คลาสสิก, ป็อป, แจ็ส แต่นักดนตรีคลาสสิกจะนิยมใช้แซกอัลโต้ในการเล่นมากกว่าการใช้แซกโซโฟนชนิดอื่น ๆ รวมถึงการเล่นดนตรีแบบแตรวง, คอนเสิร์ตหรือมาร์ชชิ่งแบรนด์ก็เช่นกัน แซกโซโฟนอัลโต้จึงเป็นแซกโซโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  3. เทเนอร์แซกโซโฟน (Tenor Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่ถูกใช้มากในการเล่นดนตรีแนวแจ็ส แต่ก็สามารถเห็นแซกโซโฟนเทเนอร์ได้ในการเล่นดนตรีแบบอื่น ๆ เช่นกันเสียงของแซกเทเนอร์จะมีลักษณะแบบนุ่ม ๆ อ้วน ๆ และต่ำกว่าแซกโซโฟนอัลโต้และแซกโซโฟนโซปราโน รองจากแซกโซโฟนอัลโต้แล้วแซกโซโฟนเทเนอร์ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่มือใหม่ควรจะใช้ในการเริ่มต้น
  4. บาริโทนแซกโซโฟน (Baritone Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่และมีความถี่เสียงต่ำสุด และราคาแพงที่สุดในบรรดาแซกโซโฟน ดังนั้นบาริโทนแซกโซโฟนจึงไม่เหมาะแก่นักแซกโซโฟนมือใหม่ทั้งหลาย ความยาวของบาริโทนแซกโซโฟนจะอยู่ประมาณ 7 ฟุต
  5. เบสแซกโซโฟน (Bass Saxophone) เป็นแซกโซโฟนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาแซกโซโฟนทั้งหมด

Percussion (ความหมาย)

เพอร์คัชชัน (Percussion)ในทางดนตรี

เครื่องเพอร์คัชชัน (percussion) หมายถึงวัตถุที่ให้เสียงจากการตี กระทบ ถู เขย่า หรือการกระทำลักษณะที่ใกล้เคียงกันที่ทำให้วัตถุสั่นและเกิดเสียง เพอร์คัชชันนั้นหมายความรวมทั้งเครื่องดนตรีที่รู้จักกันทั่วไป เช่น กลอง ฉาบ ฆ้อง แทมบูรีน ไซโลโฟน หรือสิ่งของซึ่งถูกนำมาใช้ในดนตรีสมัยใหม่หลายชนิด เช่น ไม้กวาด ท่อโลหะ เป็นต้น


เครื่องเพอร์คัชชันมีทั้งเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงและไม่มีระดับเสียง เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียง ซึ่งหมายถึงว่าเสียงที่ออกมานั้นมีความถี่ที่ซับซ้อนจนมาสามารถตั้งเป็นตัวโน้ตได้เช่น กลองทิมปานี มาริมบา ไซโลโฟน ระนาด และเครื่องที่ไม่มีระดับเสียง เช่น กลองสแนร์ ฉาบ ไทรแองเกิล เป็นต้น

คำว่าเพอร์คัชชัน มีที่มาจากภาษาละตินว่า "percussio" ซึ่งมีความหมายว่า"ตี" ในภาษาอังกฤษ คำว่าเพอร์คัชชันไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในทางดนตรี ในภาษาไทย บางครั้งจะเรียกเครื่องเพอร์คัชชันว่า เครื่องกระทบ[1] เครื่องตี หรือเครื่องเคา


ะ[2] รวมถึงเครื่องให้จังหวะ [3] และเครื่องประกอบจังหวะ [4]
เพอร์คัชชันในดนตรีประเภทต่าง ๆ

เพอร์คัชชันแบบออร์เคสตรา





ในวงออร์เคสตรา เพอร์คัชชันถือเป็นหนึ่งในสี่ส่วนประกอบอันได้แก่ เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเพอร์คัชชัน เครื่องดนตรีที่มักจะใช้ในวงออร์เคสตราได้แก่ ทิมปานี กลองสแนร์ กลองใหญ่ ฉาบ ไทรแองเกิล แทมแทม กลอกเคนสปีล ไซโลโฟน เซเลสทา และไชมส์ นอกจากนี้ ฝ่ายเพอร์คัชชันยังรับผิดชอบการสร้างเสียงอื่นๆ เช่น คาวเบลล์ วูดบลอก และเครื่องดนตรีแปลกๆอีกหลายชนิด โดยทั่วไปนักเพอร์คัชชันจะถูกฝึกให้เล่นได้ทุกเครื่อง แต่นักทิมปานีมักจะเล่นทิมปานีเป็นหลักแม้ว่าจะถูกฝึกมาแบบนักเพอร์คัชชันก็ตาม นอกจากนักทิมปานี ผู้เล่นคนอื่นจะต้องพร้อมกับการเล่นทุกเครื่อง รวมถึงเครื่องดนตรีแปลกๆอย่างกลองบองโกหรือมาราคา ในหนึ่งเพลงผู้เล่นอาจจะต้องเล่นมากกว่าหนึ่งเครื่องดนตรี ซึ่งหลายครั้งต้องเปลี่ยนระหว่างเครื่องอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่เล่นสองเครื่องในเวลาเดียวกัน

เพอร์คัชชันแบบมาร์ช

เครื่องดนตรีเพอร์คัชชันแบบมาร์ช จะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการเล่นในขณะที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงดังเพราะกิจกรรมดนตรีแบบมาร์ชมักจะอยู่ภายนอกอาคาร เครื่องดนตรีประเภทนี้ ใช้ในวงมาร์ช ดรัมคอร์ป ในขณะที่อองซอมเบิลที่ใช้เครื่องดนตรีเพอร์คัชชันแบบมาร์ชมักรู้จักในชื่อดรัมไลน์

เครื่องดนตรีเพอร์คัชชันแบบมาร์ชชิงที่ใช้ ได้แก่ กลองสแนร์ กลองใหญ่ ฉาบ กลองเทเนอร์ เป็นต้น โดยเครื่องดนตรีแบบมาร์ชจะมีความแตกต่างจะเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันที่ใช้ในวงออร์เคสตรา นอกจากนี้ ในวงมาร์ชและดรัมคอร์ป อาจจะมีเครื่องเพอร์คัชชันแบบออร์เคสตราตั้งอยู่ด้านข้างของสนาม มักเรียกว่า "พิท"